วันพฤหัสบดีที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

โครงการแกล้งดิน


















โครงการแกล้งดิน
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ทำการศึกษาค้นคว้าวิจัยขึ้น ที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทอง อันเนื่องมาจาก พระราชดำริ จังหวัดนราธิวาส เพื่อศึกษา การเปลี่ยนแปลงทางเคมีต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น การปรับปรุงดินเปรี้ยวจัด จำเป็นต้องเข้าใจ ถึงกระบวนการ เปลี่ยนแปลง ทางเคมีของดินดังกล่าวให้ดีพอก่อน แม้จะมีการศึกษาในด้านนี้มาบ้างแล้วแต่ก็ยังมีข้อมูลไม่มากนัก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ทำการศึกษา ค้นคว้าวิจัยขึ้น ณ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทอง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดนราธิวาส เพื่อศึกษา การเปลี่ยนแปลง ทางเคมีต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น เมื่อดินเริ่มแห้งลง ก่อนที่จะศึกษาถึงวิธีการปรับปรุงดินควรเร่งให้ดินเป็นกรดจัดรุนแรงที่สุด ซึ่งก็คือจุดที่ดินเป็นกรดจัดจนไม่สามารถจะปลูกพืชเศรษฐกิจได้ การเร่งดิน ให้เป็นกรดจัดในสภาพธรรมชาติ แล้วดินจะค่อย ๆเปลี่ยนแปลง โดยความเป็นกรดจะเพิ่มขึ้นอย่างช้า ๆ เมื่อดินมีสภาพแห้งและเปียกสลับกัน ในรอบปี หนึ่ง ๆ ดินจะแห้งและเปียก สลับกันประมาณ 1 ครั้ง เท่านั้น กล่าวคือ ในช่วงฤดูฝนและฤดูแล้ง และด้วยพระปรีชาญาณ ของพระองค์ จึงทรงมีพระราชดำริ ว่า หากจำลอง สภาพฤดูแล้งและฤดูฝน ให้กับดินโดยย่อระยะเวลา จากปีละ 1 รอบ เป็นปีละหลาย ๆ รอบ ก็จะเท่ากับ เป็นการเร่งดิน ให้เกิดเป็นกรดเร็วขึ้นแล้วทำการตรวจสอบสภาพความเป็นกรด ว่ารุนแรงที่สุดหรือไม่โดยการนำดิน ไปวิเคราะห์ และโดยการปลูกพืช เพื่อทดสอบว่า พืชยังคงขึ้นได้ หรือตายทันทีหลังจากปลูก ทรงตั้งชื่อการศึกษานี้ว่า "โครงการแกล้งดิน" เมื่อดินเป็นกรดจัดรุนแรงที่สุดแล้ว จึงค่อยเริ่ม ทำการศึกษาต่อ เพื่อหาวิธีการสำหรับปรับปรุงดินนั้น ให้สามารถกลับมาใช้ประโยชน์ได้ดี จากนั้นจึงรวบรวมเขียนเป็นตำราแก้ดินเปรี้ยว พร้อมกับนำวิธีการที่ได้ผลแล้วถ่ายทอดไปสู่พื้นที่จริง เพื่อช่วยเหลือ เกษตรกรให้ปลูกข้าว และพืชผลต่าง ๆ ได้อีกครั้งหนึ่ง นอกจากการพัฒนาสภาพดินดังกล่าวแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงตระหนัก ถึงสภาพปัญหาความเสื่อมโทรมของผิวดิน อันเป็นผลจาก การที่ผิวหน้าดิน ถูกกัดเซาะจากฝนที่ตกลงมาชะล้างดินทำให้ ดินขาดความสมบูรณ์ และบางครั้ง ยังเกิดปัญหา ดินพังทลาย ก่อให้เกิดความเสียหาย ต่อพื้นที่ทำการเกษตร และ ต่อทรัพยากรดินและน้ำ จึงทรงมี พระราชดำริ ให้ใช้หญ้าแฝก ในการอนุรักษ์ดินและน้ำ เนื่องจาก เป็นวิธีการ ที่ใช้ เทคโนโลยีแบบง่าย ๆ เกษตรกร สามารถ ดำเนินการ ได้เอง ทั้งยังไม่ต้อง ดูแลรักษาหลัง การปลูกมากนัก และประหยัดค่าใช้จ่ายมากกว่าวิธีอื่น ๆ ด้วย ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้รับการทูลเกล้าฯ ถวาย รางวัล เกี่ยวกับเรื่อง การอนุรักษ์ดินและน้ำ คือ 1. International Erosion Control Association (IECA) ได้ทูลเกล้าทูลกระหม่อม ถวายรางวัล The International Erosion Control Association's International Merit Award แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในฐานะที่ทรงเป็นแบบอย่างในการนำหญ้าแฝก มาใช้ในการอนุรักษ์ดินและน้ำ เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2536 2. ธนาคารโลก ได้ทูลเกล้าทูลกระหม่อม ถวาย รากหญ้าแฝกชุบสำริด ซึ่งเป็น รางวัลสดุดีพระเกียรติคุณ (Award of Recognition) ในฐานะ ที่ทรงมุ่งมั่นในการพัฒนา และส่งเสริม การใช้ หญ้าแฝก ในการอนุรักษ์ดินและน้ำ เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2536
แหล่งสืบค้น http://www.t2k.ac.th/project/Project%202.html